ระบบเมตริก SI Unit

ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)  General Conference on Weights and Measures (CGPM) ได้มีการจัดประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกอนุสัญญาเมตริก (Convention du Mètre หรือ Metre Convention) หรือสนธิสัญญาเมตริกเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 ได้รับ โดยมีการลงนามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1875 โดยผู้แทนสิบเจ็ดชาติซึ่งจัดตั้งสถาบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือด้านมาตรวิทยาระหว่างประเทศ และเพื่อร่วมมือพัฒนา ระบบเมตริก  International System of Units (SI)” แต่น่าสนใจที่มีประเทศสมาชิกบางประเทศไม่ยอมรับเอา SI Unit เป็นหน่วยวัดของประเทศ 

 

ในปัจจุบันหน่วย SI Unit แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ  (class) คือ 1.หน่วยฐานเอสไอ (SI base units) และ 2.หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI derived units) และยังมีหน่วยเสริม (supplementary units) อีก 2 ประเภทคือ หน่วยเรเดียน (radian) เป็นหน่วยของมุมระนาบ และหน่วยสตีเรเดียน (steradian) เป็นหน่วยของมุมตัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหน่วยอนุพัทธ์ SI การใช้ระบบหน่วย SI ได้อย่างถูกต้องนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้กฎ กติกาและรูปแบบของการใช้ หน่วยอนุพัทธ์เอสไอและคำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอหรือที่เรียกว่า (SI prefixes) ที่จะใช้ร่วมกับหน่วยฐานในระบบเอสไอ

1. หน่วย SI

1.1  หน่วยมูลฐานเอสไอ (SI base units) เป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่นๆ ทั้งหมดซึ่งสามารถสอบกลับได้ (traceability) หน่วยฐานทั้ง 7 หน่วยของ  International System of Units (SI)  ซึ่งได้กำหนดไว้ใน General Conference on Weights and Measures (Conference Generale des Poids at Mesures, CGPM)  ในรูปของภาษาอังกฤษในเอกสาร The International System of Units, HMSO, 1993  ดังแสดงในตารางที่ 1.1

ตารางที่ 1.1 หน่วยมูลฐานเอสไอ (SI base units)

ชื่อหน่วย

ปริมาณ

ตัวย่อ

เมตร (Meter)

ความยาว

m

กิโลกรัม (kilogram)

มวล

kg

วินาที (second)

เวลา

s

แอมแปร์ (ampere)

กระแสไฟฟ้า

A

เคลวิน (kelvin)

อุณหภูมิ

K

แคนเดลา (candela)

ความเข้มข้นของการส่องสว่าง

cd

โมล (mole)

ปริมาณของสาร

mol

 

 

 

1.2 หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI derived units) หน่วยอนุพัทธ์เกิดจากการพิสูจน์ทางพีชคณิตระหว่างหน่วยฐานบเอสไอหรือระหว่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ตัวย่อของหน่วยอนุพัทธ์เอสไอมีที่มาจากการกระทำทางคณิตศาสตร์โดยการคูณและการหารของหน่วยมูลฐานเอสไอ (SI base units)

ตารางที่ 1.2 แสดงตัวอย่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยฐาน

หน่วยอนุพัทธ์

ปริมาณ (derived quantity)

ตัวย่อ

ตารางเมตร

พื้นที่ (area)

m2

ลูกบาศก์เมตร

ปริมาตร (volume)

m3

เมตรต่อวินาที

อัตราเร็ว, ความเร็ว (speed, velocity)

m·s-1

เมตรต่อวินาทีกำลังสอง

ความเร่ง (acceleration)

m·s-2

reciprocal meter

เลขคลื่น (wave number)

m-1

กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ความหนาแน่น (density)

kg·m-3

แอมแปร์ต่อลูกบาศก์เมตร

ความหนาแน่นกระแส (current density)

A·m-3

โวลต์ต่อเมตร

ความแรงสนามไฟฟ้า (electric field strength)

V·m-1

แคนเดลาต่อตารางเมตร

ความเข้มแสง (luminance)

cd·m2

โมลต่อลูกบาศก์เมตร

ความเข้มข้นเชิงปริมาณสาร (amount of substance concentration)

mol·m-3

           


ความคิดเห็น