บทความ

ระบบเมตริก SI Unit

ในปี พ.ศ. 2503 ( ค.ศ. 1960)   General Conference on Weights and Measures (CGPM) ได้มีการจัดประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกอนุสัญญาเมตริก ( Convention du Mètre หรือ Metre Convention) หรือสนธิสัญญาเมตริกเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 ได้รับ โดยมีการลงนามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1875 โดยผู้แทนสิบเจ็ดชาติซึ่งจัดตั้งสถาบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือด้านมาตรวิทยาระหว่างประเทศ และเพื่อร่วมมือพัฒนา “ ระบบเมตริก ”   “ International System of Units (SI)” แต่น่าสนใจที่มีประเทศสมาชิกบางประเทศไม่ยอมรับเอา SI Unit เป็นหน่วยวัดของประเทศ     ในปัจจุบันหน่วย SI Unit แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ   ( class) คือ 1. หน่วยฐานเอสไอ ( SI base units) และ 2. หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ( SI derived units) และยังมีหน่วยเสริม ( supplementary units) อีก 2 ประเภทคือ หน่วยเรเดียน ( radian) เป็นหน่วยของมุมระนาบ และ หน่วยสตีเรเดียน ( steradian) เป็นหน่วยของมุมตัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหน่วยอนุพัทธ์ SI การใช้ระบบหน่วย SI ได้อย่างถูกต้องนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้กฎ กติกาและรูปแบบของการใช้ หน่วย อนุ